ไบออสคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ไบออส (BIOS : Basic Input/Output System) คือโปรแกรมเล็กๆ

ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด และมีส่วน

สำคัญมากในขั้นตอนการบู๊ตเครื่อง เพราะไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมด

หากอุปกรณ์ตัวไหนมีการทำงานผิดพลาด ไบออสก็จะรายงานหรือส่งสัญญาณเสียง

ให้เราได้ทราบทันที เดี๋ยวนี้ไบออสรุ่นใหม่ๆ จะถูกบรรจุอยู่ภายใน Flash Rom

ทำให้เราสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ หรืออัพเกรด (Flash Bios) ได้ในภาย

หลัง ในขณะที่ไบออสสมัยก่อนไม่สามารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนแปลงค่าใดๆ ได้เลย

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการอัพเดทไบออส



1. ดาวน์โหลดไฟล์ไบออสเวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์ผู้ผลิตเมนบอร์ด
ควรเลือกไบออสเวอร์ชั่นล่าสุดเท่านั้น ในตัวอย่างนี้จะเป็นไฟล์ avu1005a.awd

2. ก๊อปปี้ไฟล์ AFLASH.EXE จากแผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ดมาเก็บไว้ในเครื่อง
3. จากนั้นฟอร์แมตแผ่นดิสก์ใหม่หนึ่งแผ่นพร้อมทั้งก๊อปปี้ไฟล์ระบบ
ลงไปด้วย เพื่อให้แผ่นดิสก์นี้สามารถบู๊ตขึ้นมาได้ด้วยคำสั่ง Format A:/S
4. ก๊อปปี้ไฟล์ avu1005a.awd และ AFLASH.EXE ลงไปในแผ่นดิสก์
5. บู๊ตเครื่องขึ้นมาใหม่ กดปุ่ม Del บนคีย์บอร์ดเพื่อเข้าไปในไบออส
(ตัวอย่างนี้จะใช้ไบออสเวอร์ชั่น 6.0) ไปที่เมนู Advanced เลือกคำสั่ง Bios Update
กำหนดค่าให้เป็น Enabled และกำหนดค่า Shadow Memory, System BIOS
Cacheable และ Video BIOS Cacheable ให้เป็น Disable เสียก่อน เพื่อป้องกัน
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การปรับแต่งความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์จากไบออส



การปรับแต่งไบออสเพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เร็วขึ้นนั้น
ก็คือการเข้าไปปรับแต่งในส่วนของการส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์โดยกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์
ส่งข้อมูลเป็นบล็อคทีละหลายๆ เซ็กเตอร์ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้นกว่าปกติ
สำหรับไบออส V6.0 นั้นมีขั้นตอนการปรับแต่งง่ายดายมาก เพียงแต่เราเข้า
ไปกำหนดค่าเป็น Auto เท่านั้นไบออสก็จะเข้าไปกำหนดค่าต่างๆ ที่เหมาะสมให้เอง
โดยอัตโนมัติ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. ขั้นตอนแรกให้เปิดสวิตช์เครื่องขึ้นมาจากนั้นกดปุ่ม DEL บนเมนบอร์ด
เพื่อเข้าสู่เมนูไบออส


2. ให้เลือกเข้าไปที่เมนู Main จากนั้นที่คำสั่ง Primary Master, Primary Slave,
Secondary Master, Secondary Slave ให้ปรับเป็น Auto ทั้งหมด



3. จากนั้นให้ไปที่เมนู Exit เลือกคำสั่ง Exit Saving Changes แล้วเลือกคำสั่ง
Yes เพื่อเซฟค่าที่เราปรับแต่งไว้

สำหรับไบออสในเวอร์ชั่นอื่นๆ นั้นสามารถเข้าไปปรับแต่งได้ที่เมนู Integrated
Peripherals เลือกคำสั่ง IDE BLOCK MODE ให้เป็น Enabled




ค่าการปรับแต่งในส่วนของคำสั่ง IDE BLOCK MODE จะมีผลเฉพาะ
ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เท่านั้น สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จะไม่มีผลใดๆ



จะปรับแต่งความเร็วของหน่วยความจำในไบออสได้อย่างไร


โดยทั่วไปหน่วยความจำจะมีค่าหน่วงเวลาในขณะที่มีการรอส่งข้อมูลของ
RAS (ตำแหน่งแถวของแรม) และ CAS (ตำแหน่งคอลัมภ์ของแรม) ไปยังซีพียูจะมีค่า
เท่ากับ CL3 และ CL2 ยิ่งค่าหน่วงเวลามีน้อยเท่าไหร่หน่วยความจำก็จะสามารถ
ทำงานได้เร็วขึ้น ดังนั้น CL2 ที่ใช้เวลาในการอ่านและเข้าถึงข้อมูลมีค่าเท่ากับ 6-1-
1-1 จึงย่อมต้องเร็วกว่า CL3 ที่ใช้เวลาในการอ่านและเข้าถึงข้อมูลมีค่าเท่ากับ 7-1-
1-1 แน่นอน
ในการปรับแต่งหน่วยความจำหรือแรมให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นกว่า
ปกตินั้น เราจะต้องเข้าไปลดเวลาการอ่านและเขียนของหน่วยความจำให้น้อยลง
ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของหน่วยความจำเร็วขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าหน่วยความจำของ
เราต้องสามารถรองรับได้ ส่วนใหญ่จะต้องเป็นแรมที่มีคุณภาพดีพอสมควร
ไม่งั้นเมื่อเราได้ทำการปรับแต่งค่าไปแล้ว ระบบจะไม่มีเสถียรภาพและอาจทำ
ให้เครื่องแฮงค์ได้ สำหรับคำสั่งที่เราจะเข้าไปกำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ
หน่วยความจำมีดังนี้

โอเวอร์คล็อกอย่างไรให้ปลอดภัย



การโอเวอร์คล็อกซีพียูให้มีเสถียรภาพต้องจัดการกับระบบระบายความร้อนให้ดีด้วย

การโอเวอร์คล็อกที่ไม่ถูกต้องค่อนข้างเสี่ยงต่อการทำให้เกิดความเสียหาย
ได้ง่าย ดังนั้นหากต้องการโอเวอร์คล็อกอย่างปลอดภัย เราควรทำตามขั้นตอน ดังนี้

1.ขั้นตอนแรกเราควรทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่างๆ
ที่จะทำการปรับแต่งให้เรียบร้อยเสียก่อน รวมทั้งศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของอุปกรณ์
ให้ละเอียดถี่ถ้วน เช่นเมนบอร์ดตัวนี้ใช้กับซีพียูอะไร ชิพเซ็ตรุ่นไหน ซีพียูใช้ไฟเลี้ยง
ตัวคูณ และบัสเท่าไหร่ นอกจากนี้ควรจดค่าเดิมของอุปกรณ์แต่ละอย่างไว้ด้วย

2. ขั้นตอนการกำหนดค่านั้น ควรเริ่มจากการเพิ่มค่าทีละน้อยๆ ก่อนเมื่อ
สำเร็จจึงค่อยๆ เพิ่มค่าให้มากขึ้นจนกว่าจะถึงขีดจำกัดหรือพอใจแล้ว ไม่ควรเพิ่มค่า
ครั้งแรกทีเดียวสูงสุดไปก่อนแล้วจึงค่อยลดลงมา เพราะจะมีโอกาสเสี่ยงต่อความ
เสียหายมาก การเพิ่มค่าแบบทีละน้อยจะทำให้เครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ สามารถ
ปรับตัว ได้ดีกว่า โอกาสที่จะสำเร็จจึงมีมากกว่า

3. ควรปรับค่าความเร็วบัสก่อน เพราะให้ประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวม
ดีกว่าการปรับค่าตัวคูณ นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องความร้อนเหมือนการปรับ
ค่าตัวคูณ แต่ต้องระวังการทำงานของระบบบัสเพราะอาจเกิดความไม่เสถียรได้

4. บู๊ตเครื่อง และทดสอบการทำงานหากไม่สามารถบูตเครื่องขึ้นมาได้หรือ
ทำงานไม่มีเสถียรภาพพอ ก็หมายถึงการโอเวอร์คล็อกไม่สำเร็จให้ลดค่าลงมาเรื่อยๆ
จนกว่าจะสามารถทำงานได้ หรือจะเพิ่มไฟเลี้ยง (Voltage Core หรือ Vcore)
แทนการลดความเร็ว แต่ควรระวังเพราะการเพิ่มไฟเลี้ยงมากเกินไปจะทำให้ซีพียู
ไหม้ได้

5. หากโอเวอร์คล็อกไม่สำเร็จให้ลดค่าหน่วงเวลาของหน่วยความจำให้ช้าลง
(ในกรณีที่มีการปรับค่าหน่วงเวลาของแรม) เพราะการเพิ่มความเร็วบัสจะทำ
ให้หน่วยความจำมีความเร็วมากขึ้นตามไปด้วย โดยให้มีช่วงหยุดรอ (wait state)
ให้มีระยะเวลานานขึ้นและควรเพิ่มระบบระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย

จะโอเวอร์คล็อกซีพียูจากไบออสได้อย่างไร




การโอเวอร์คล็อกซีพียูจากไบออสให้ปลอดภัยมากที่สุด เราควรปรับค่าเพียง
ค่าเท่านั้น คือการปรับค่าความเร็วบัส และการปรับค่าตัวคูณ ส่วนค่าไฟเลี้ยง Vcore
หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปยุ่งเพราะค่อนข้างเสี่ยงต่อความเสียหายที่จะ เกิดขึ้น

การปรับค่าความเร็วบัส

เป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีมากที่สุดเพราะทำให้ระบบทั้งหมดเร็วขึ้น
ตามไปด้วย (ไม่ได้เร็วแต่ซีพียูอย่างเดียวเช่น ในตัวอย่างนี้ใช้ซีพียูดูรอนความเร็ว
1.0 GHz (ได้มาจากตัวคูณ xความเร็วบัส 8x100 = 800) ปกติความเร็วบัส
ของซีพียูดูรอนจะใช้บัส 100 ส่วนความเร็วบัสของสล็อต PCI และสล็อต AGP ที่บัส
100 จะมีความเร็วปกติคือ 33.33 MHz และ 66.67 MHz ตามลำดับ แต่หากเรามีการ
ปรับค่าความเร็วบัสของซีพียูไปเป็น 110 ก็จะทำให้ซีพียูมีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น
(8x110=880) 880 MHz เลยทีเดียว (ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นตั้ง 80 MHz) และจะทำให้
ความเร็วบัสของสล็อต PCI เพิ่มขึ้นเป็น 36.67 MHz และสล็อต AGP เพิ่มขึ้นเป็น
73.33 MHz จึงทำให้ระบบการส่งผ่านข้อมูลในคอมพิวเตอร์ของเรารวดเร็วขึ้น
แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือความเร็วบัสของสล็อต PCI และ AGP ที่พุ่งสูงขึ้นกว่ามาตรฐาน
อาจทำให้การทำงานของเครื่องไม่มีเสถียรภาพและส่งผลกระทบถึงข้อมูลและ
ความร้อนของการ์ดที่ติดตั้งอยู่บนสล็อตที่อยู่เมนบอร์ดได้

การปรับค่าตัวคูณ

การโอเวอร์คล็อกด้วยวิธีนี้จะเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียูเพียงอย่าง
เดียว โดยที่ระบบบัสต่างๆ ยังคงเท่าเดิม เช่น ในตัวอย่างนี้ใช้ซีพียูดูรอนความเร็ว 800
MHz ค่าตัวคูณปกติจะใช้ที่ 8 และระบบบัสปกติเป็น 100 ดังนั้น 8x100 จะได้ 800
MHz โดยที่ความเร็วบัสของสล็อต PCI และ AGP นั้นจะยังคงเท่าเดิมคือ 33.33 MHz
และ 66.67 MHz ตามลำดับ แต่หากเราปรับค่าตัวคูณเพิ่มขึ้นเป็น 9 ดังนั้น 9x100
จะได้ 900 MHz เราจะได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมาอีก 100 MHz แต่ระบบบัสของสล็อต
PCI และ AGP นั้นจะยังคงอยู่ที่ 33.33 MHz และ 66.67 MHz เท่าเดิม ดังนั้นเราจะ
เห็นว่าความเร็วเพิ่มขึ้นที่ตัวซีพียูอย่างเดียว ระบบต่างๆ ในเครื่องนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้น
ตามไปด้วยจึงทำให้ประสิทธิที่ได้จากการปรับค่าตัวคูณเพียงอย่างเดียวนั้นด้อยกว่าการ
ปรับค่าความเร็วบัสอย่างแน่นอน ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือการปรับค่าตัวคูณจะ
ส่งผลถึงความร้อนบนตัวซีพียูเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่อง
ของการระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การตั้งค่าและความหมายของคำต่างๆ ใน BIOS ที่ควรทราบ


โดยปกติแล้ว เราไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ใน BIOS บ่อยนัก ยกเว้นเมื่อเราต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่น CPU, RAM หรือ Hard Disk เป็นต้น

การเข้าสู่ BIOS Setup Mode
สำหรับวิธีการที่จะเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบของแต่ละเครื่องด้วย โดยปกติเมื่อเราทำการเปิดสวิทช์ไฟของเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS ก็จะเริ่มทำงานโดยทำการทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเรียกใช้งานระบบ DOS จากแผ่น Floppy Disk หรือ Hard Disk ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เราสามารถเข้าไปทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ได้โดยกด Key ต่าง ๆ เช่น DEL, ESC CTRL-ESC, CTRL-ALT-ESC ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละเครื่องจะตั้งไว้อย่างไร ส่วนใหญ่ จะมีข้อความบอกเช่น "Press DEL Key to Enter BIOS Setup" เป็นต้น
ปุ่ม Key ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการ Setup BIOS ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดียวกัน โดยจะมีรูปแบบทั่วไป
Up, Down, Left, Right ใช้สำหรับเลื่อนเมนูตามต้องการ
Page Up, Page Down ใช้สำหรับเพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าตามต้องการ
ESC Key ใช้สำหรับย้อนกลับไปเมนูแรกก่อนหน้านั้น
Enter Key ใช้สำหรับเลือกที่เมนูตามต้องการ
F1, F2 ถึง F10 ใช้สำหรับการทำรายการตามที่ระบุในเมนู BIOS Setup

ตัวอย่างการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS Setup
สำหรับตัวอย่างต่อไปนี้ผมนำมาให้ดูแบบรวมทั่ว ๆ ไปของ BIOS เท่าที่หาข้อมูลได้นะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคล้าย ๆ กัน เริ่มจากหลังจากที่กด DEL หรือ Key อื่น ๆ ขณะเปิดเครื่องเพื่อเข้าสู่ BIOS Setup Mode โดยปกติแล้ว ถ้าหากเป็นการตั้งค่าครั้งแรก หลังจากที่ทำการ Reset CMOS แล้ว ก็เลือกที่เมนู Load BIOS Default Setup หรือ Load BIOS Optimal-performance เพื่อเลือกการตั้งค่าแบบกลาง ๆ ของอุปกรณ์ทั่วไปก่อน จากนั้นจึงมาทำการเลือกแก้ไขเปลี่ยนแปลงแต่ละค่า ตามเมนูต่อไปนี้

การคืนค่า Bios


          
การถอดถ่านไบออสออกมาสักครู่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการคืนค่าเดิมของไบออสกลับมา


ทุกครั้งก่อนที่เราจะปรับแต่งไบออส ควรต้องมีการจดค่าเดิมลงไปใน
สมุดบันทึกเสียก่อน เพราะหากค่าที่เราได้ปรับแต่งไปไม่สามารถทำงานได้
หรือใช้งานได้แต่ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ เราจะได้ปรับค่าต่างๆ กลับคืนมา
เหมือนเดิม หรือไม่อย่างนั้นก็ให้ใช้คำสั่ง Default เพื่อเรียกค่าทั้งหมดกลับคืนมา
เหมือนเดิม การปรับแต่งที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องเป็นการปรับแต่งที่ถูกวิธี
ควรปรับแต่งทีละคำสั่งแล้วทดลองใช้งาน ไม่ควรปรับแต่งทีเดียวพร้อมๆ กันหลายค่า
เพราะเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าค่าไหนให้ผลการทำงานเป็นอย่างไร หากเกิดการ
ผิดพลาดก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้การทำงานของเครื่องหลังจากที่ปรับแต่งแล้วต้องทำงานได้ดี
กว่าเดิมและมีเสถียรภาพ หากปรับแล้วได้ผลไม่น่าพอใจควรปรับค่าให้ลดลงหรือ
กลับไปใช้ค่าเดิมจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด อย่าลืมนะครับว่าการปรับแต่งค่าต่างๆ
ในไบออส อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อตัวฮาร์ดแวร์ได้ ดังนั้นเราจึงควรทำด้วย
ความรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วนที่สุดนะครับ

ไบออสสามารถปรับแต่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของคอมพิวเตอร์ในด้านใดได้บ้าง



แม้ว่าในไบออสจะมีคำสั่งให้เราสามารถปรับแต่งได้มากมาย แต่หากเรารู้หลักและวิธีการปรับแต่งที่ถูกต้องแล้วจะสามารถปรับแต่งไบออสได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องไปจดจำคำสั่งต่างๆ ทั้งหมดของไบออสเลย ซึ่งส่วนใหญ่
จะมีวิธีจำหลักการปรับแต่งให้ไบออสทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงแค่
3 ส่วนหลักๆ เท่านั้นคือ


1. การปรับแต่งในส่วนของซีพียู เป็นการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียูหรือที่
เรียกกันว่าการโอเวอร์คล็อกจากไบออส ซึ่งต้องใช้ผู้ที่มีทักษะและมีความชำนาญ
ในเรื่องของฮาร์ดแวร์มากพอสมควร สำหรับผู้ใช้มือใหม่ก็สามารถทำได้แต่ควร
ศึกษาให้ลึกซึ้งและปฏิบัติด้วยความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะหากผิดพลาดขึ้น
มาอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฝึกการวิเคราะห์อาการเสียของคอมพิวเตอร์ จาก ขั้นตอนการ POST


สำหรับในขั้นตอนการ
POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นขั้นตอนในการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ
ที่มาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์นั้น ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ส่วนไหนทำงาน
เป็นปกติอยู่บ้าง และสามารถคาดเดาได้ว่าควรตรวจเช็คปัญหาตรงส่วนไหนของ
คอมพิวเตอร์ โดยเราจะมาเจาะลึกถึงขั้นตอนการ POST กันอย่างลึกซึ้งอีกทีหนึ่ง

1. เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องขึ้นมาไบออสจะแสดงข้อความรายละเอียดต่างๆ
ของการ์ดแสดงผล ซึ่งหากคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นติดตั้งการ์ดแสดงผลยี่ห้ออะไร
หน่วยความจำขนาดเท่าไหร่ก็จะถูกแสดงออกมาที่หน้าจอนี้เป็นอันดับแรก



ซึ่งในขั้นตอนนี้หากเกิดปัญหา ไบออสจะส่งเสียงร้องเตือนขึ้นมาเป็นจังหวะ
ถี่ๆ นั่นก็แสดงว่าอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการ์ดแสดงผล ดังนั้นเราควรทำการ
ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจอีกครั้ง โดยการถอดและติดตั้งการ์ดแสดงผลเข้าไปใหม่ หาก
ยังเกิดปัญหาขึ้นมาอีก อาจเป็นไปได้ว่าการ์ดแสดงผลที่ใช้อยู่เสีย ให้ลองเปลี่ยนการ์ด
ตัวใหม่มาลองทำการติดตั้งอีกครั้ง


2. จากนั้นไบออสจะทำการแสดงรายละเอียดต่างๆ ของไบออสชื่อยี่ห้อและ
รุ่นพร้อมทั้งตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่มาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยจะมี
การแจ้งรายละเอียดของซีพียู และขนาดของหน่วยความจำให้เราได้ทราบ

หลักการทำงานของไบออสมีอะไรบ้าง


           


                หากเราเข้าใจการทำงานของไบออสอย่างลึกซึ้งจะช่วยให้การวิเคราะห์
ปัญหาตีวงแคบมากขึ้น ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
มากยิ่งขึ้น เราสามารถแยกขั้นตอนการทำงานของไบออสออกมาเป็น 5 ขั้นตอน
หลักๆ ดังนี้

1. ขั้นตอนการ POST (Power-On Self Test) เมื่อผู้ใช้เปิดสวิตช์เครื่องขึ้นมา
ไบออสจะตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด
ฟล็อบปี้ดิสก์ แรม จอภาพ หากอุปกรณ์ตัวไหนมีการทำงานผิดพลาดหรือขัดข้อง
ไบออสจะรายงานข้อความผิดพลาด พร้อมทั้งส่งสัญญาณ Beep Code ให้เราทราบ
ทันที

2. เครื่องจะบู๊ตค่าต่างๆ ของอุปกรณ์แต่ละตัวขึ้นมาทำงาน ซึ่งค่าเหล่านี้จะ
ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ CMOS

3. เครื่องจะบู๊ตไฟล์สำคัญรวมถึงระบบปฏิบัติการที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ขึ้นมา
ทำงาน

4. เมื่อระบบปฏิบัติการเริ่มทำงานแล้ว ไบออสก็จะถอยกลับไปทำงานอยู่
เบื้องหลัง เช่น การอ่านค่าการทำงานของฮาร์ดดิสก์ แรม หรือนำเครื่องเข้าสู่ระบบ
ประหยัดพลังงาน ตามค่าที่เรากำหนดไว้เมื่อไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน

5. เมื่อถึงขั้นตอนการปิดเครื่องไบออสจะเข้าไปตัดการทำงานของอุปกรณ์
ต่างๆ บนเมนบอร์ดทั้งหมดและจัดการตัดไฟที่จ่ายให้เพาเวอร์ซัพพลายด้วย
ส่วนค่าต่างๆ ที่เรากำหนดในไบออสจะถูกเก็บในหน่วยความจำ CMOS